เกษตรดิจิทัล เคล็ดลับสู่เส้นชัยและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตร

Portrait of young smart farmer using digital tablet computer for inspecting. using technology in agriculture field application in agricultural growing activity and checking quality concept.

การนำกระบวนการ Digital Transformation เข้ามาปรับใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเปลี่ยนให้เป็น “เกษตรดิจิทัล” กำลังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เมื่อมองในภาพใหญ่มีการคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อถึงปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคน จำนวนประชากรโลกที่มากขึ้นย่อมทำให้ความต้องการอาหารและที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมองภาพเล็กลงมาในระดับสังคมก็จะเห็นว่าทั่วโลกและประเทศไทยเองมีแนวโน้มที่สังคมเมืองจะขยายตัวมากขึ้น นั่นทำให้พื้นที่ทางการเกษตรมีจำนวนลดลงไปพร้อม ๆ กับการลดลงของจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร อีกทั้งวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัจจัยด้านต้นทุนในการดูแลพืชก็เพิ่มสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญกับความท้าทาย Digital Transformation จะมีบทบาทหรือส่วนช่วยอย่างไรในอุตสาหกรรมการเกษตรกันบ้าง มาติดตามกัน

1.พัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ

อุตสาหกรรมการเกษตรในวันนี้ จะมุ่งเน้นแต่ปริมาณการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการไม่ได้อีกแล้ว NielsenIQ มีการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา พบว่าพฤติกรรมการซื้อและการบริโภคของคนในกลุ่ม Millennials กว่า 75% กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะซื้อหรือบริโภคอะไร จะเริ่มให้ความสนใจว่าสิ่งนั้น ๆ จะส่งผลกระทบในเชิงลบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่[1] ถ้าผลิตภัณฑ์ไม่เป็นมิตรต่อโลกหรือสินค้าเกษตรเหล่านั้นไม่ได้เป็นผลิตผลที่เป็นเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพจริง ๆ ผู้บริโภคกลุ่มนี้พร้อมที่จะปฏิเสธสินค้านั้น ๆ ในทันที โดยเฉพาะสินค้าเกษตรด้วยแล้ว ผู้บริโภคกลุ่มนี้ดูจะให้ความพิถีพิถันและให้ความสำคัญไปมากกว่าการเป็นออร์แกนิคแท้ ๆ แล้วพฤติกรรมการซื้อและการบริโภคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในอเมริกา แต่กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงผู้บริโภคในประเทศไทยด้วย

ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ Digital Transformation เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นเกษตรดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เป็นเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในมิติที่ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งเกษตรดิจิทัลในแง่ของการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นสามารถปรับใช้ได้ดังนี้

1.1 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล

นำอุปกรณ์ที่มี Sensor มาใช้ตรวจวัดคุณภาพดิน สภาพของน้ำ อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณแสง จากนั้นก็ส่งข้อมูลที่วัดค่าได้กลับไปที่ Data Center ขององค์กร และใช้เทคโนโลยี AI ในการช่วยวิเคราะห์แปลงเกษตร ตรงนี้ก็จะช่วยทำให้ลดปัญหาการเกิดโรคพืชได้ ทำให้ได้ผลผลิตตรงตามที่ต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากนั้นแล้วมีงานวิจัยจาก Markets and Markets บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มการวิจัยตลาดระดับโลกชี้ว่า อุตสาหกรรมเกษตรทั่วโลกจะหันมาใช้จ่ายลงทุนกับเทคโนโลยี AI และโซลูชันด้านเกษตรดิจิทัลมากขึ้น โดยการใช้จ่ายในเทคโนโลยีเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นจาก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เป็น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026[2] ตรงนี้สะท้อนว่าอุตสาหกรรมเกษตรทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ Digital Transformation เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่เกษตรดิจิทัลแบบเต็มตัว

1.2 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยควบคุมดูแลแปลงเกษตร

ใช้อุปกรณ์ที่เป็น IoT อย่างโดรน หุ่นยนต์ เครื่องจักรกลเกษตร มาช่วยควบคุมดูแลแปลงเกษตรแทนแรงงานคน ตรงนี้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแรงงานเกษตรกรในภาคอุตสาหกรรมเกษตรได้ อุปกรณ์ที่เป็น IoT เหล่านี้เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ดูแลจึงสามารถสั่งงานให้ทำกิจกรรมการเกษตรอย่างการรดน้ำ ใส่ปุ๋ยตามเวลาและปริมาณที่กำหนดได้ผ่านสมาร์ทโฟน โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องลงไปคลุกคลีด้วยตัวเอง

2.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ Supply Chain

อุตสาหกรรมเกษตรในหลาย ๆ ประเทศได้มีการนำ Digital Transformation เข้ามาช่วยยกระดับอุตสาหกรรมให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่เพียงอุตสาหกรรมเกษตรในโลกตะวันตกเท่านั้นที่ทำการ Digital Transformationปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นเกษตรดิจิทัล ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในอาเซียนอย่างเวียดนาม ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดอุตสาหกรรมเกษตรก็ได้ปรับตัวเข้าสู่การเป็นเกษตรดิจิทัลไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน มีรายงานว่าฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม มีการแบ่งพื้นที่ของเมืองสำหรับการทำเกษตรอุตสาหกรรมด้วย และที่นี่ได้ใช้โมเดลการทำเกษตรดิจิทัลมากถึง 164 รูปแบบ ช่วยให้ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาจากการทำเกษตรดิจิทัล มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 35% จากสินค้าการเกษตรทั้งหมดของเมือง

ในขณะนี้ประเทศที่มีการทำเกษตรดิจิทัล ก็ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ Supply Chain โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างระบบ Blockchain เข้ามาช่วยเพื่อให้อุตสาหกรรมเกษตรของตนเองมีความมั่นคงและยั่งยืน พร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปสู่อนาคต โดยนำ Blockchain เข้ามาช่วยเชื่อมต่อผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเข้าหากัน ตั้งแต่ส่วนการผลิต ส่วนของการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ส่วนของตลาด เจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนของการขนส่งและผู้บริโภค จากสถิติพบว่าเทคโนโลยี Blockchain ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร ปี 2017 มีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ประมาณ 32.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์กันว่าปี 2028 มูลค่าจะสูงขึ้นไปถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนแนวโน้มว่านับจากนี้ไปเทคโนโลยีดิจิทัลและ Blockchain จะมีบทบาทและความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตรเป็นอย่างมาก อาจเป็นสิ่งที่ชี้ชะตาอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศได้เลยทีเดียว

รูปประกอบจาก: statista.com

สำหรับการปรับใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการเกษตรดิจิทัลนั้น ก็สามารถทำได้ดังนี้

2.1 ใช้ตรวจสอบสินค้าหลังเก็บเกี่ยวและขนส่ง

นำ Blockchain เข้ามาช่วยบริหารจัดการสินค้าหลังเก็บเกี่ยว อาจจะพัฒนาเป็นระบบตรวจสอบคุณภาพผลผลิต ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าที่ออกไปจากฟาร์มหรือแปลงเกษตรไปถึงคลังสินค้าหรือยัง สินค้าที่จัดเก็บในคลังสินค้าจัดเก็บอย่างถูกต้องหรือไม่ และจะหมดอายุเมื่อไหร่ สามารถกระจายสินค้าไปยังตลาดได้ตอนไหน ระหว่างสินค้าอยู่ในคลังหรือขนส่งไปแล้วหากเจ้าหน้าที่รัฐต้องการตรวจสอบสินค้าก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์ปลอดภัย

2.2 ใช้สร้างช่องทางในการตรวจสอบสินค้าสำหรับผู้บริโภค

นำ Blockchain เข้ามาช่วยสร้างแพลตฟอร์มในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าสำหรับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะเป็นเครื่องมือที่ผู้บริโภคใช้ตรวจสอบได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการเพาะปลูก วิธีการที่ใช้ในการเพาะปลูก อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมเกษตร คุณภาพของน้ำที่ใช้ ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการขนส่ง ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ถึงความโปร่งใสและความจริงใจของผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการกับผู้บริโภคต่างเข้าใจกันและกันเป็นอย่างดี ก็จะทำให้ Supply Chain ในอุตสาหกรรมดำเนินไปตามกลไกอย่างที่ควรจะเป็น

เชื่อว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรของไทยคงเล็งเห็นความสำคัญและโอกาสที่เป็นไปได้จากเกษตรดิจิทัล เพราะนี่คือกุญแจสำคัญสู่เส้นชัยและความยั่งยืนในอุตสาหกรรม แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ก็ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้น นั่นคือการทำ Digital Transformation ให้ธุรกิจพร้อมสำหรับการก้าวไปสู่ความเป็นดิจิทัล

ทั้งนี้ AIS Business พร้อมที่จะสนับสนุนกลุ่มองค์กรธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรให้ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรภาคการเกษตรอัจฉริยะโดยสมบูรณ์ ด้วยโซลูชัน Platform Intelligent iFarm ที่ตอบโจทย์ภาคการเกษตรยุคใหม่ โดยเชื่อมต่อกับระบบ Cloud และ IoT สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอด และทำการเกษตรแบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิต และต้นทุน ก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน 

https://www.csl.co.th/Web/Article_detail.aspx?id=154&cm=8

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter