โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจออนไลน์
โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยี disrupt ให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก และต้องมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ มีการใช้เทคโนโลยี และการจัดการโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้สามารถเเข่งขัน หรืออยู่เหนือคู่แข่งทางธุรกิจ เพื่อเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอดีตและปัจจุบัน
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในยุคที่มี Technology มา disrupt ทำให้ธุรกิจออฟไลน์ เปลี่ยนมาลงทุนและแข่งขันบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น กลายเป็น ธุรกิจ E-Commerce ดังนั้นอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์จึงมีการพัฒนาตามไปด้วยอยู่เสมอ เมื่อตลาด E-Commerce เติบโตขึ้น ธุรกิจโลจิสติกส์ต่างแข่งขันกันพัฒนา ด้วยการเพิ่มบริการที่เข้าไปช่วยธุรกิจได้มากขึ้น ทั้งการนำข้อมูลด้านโลจิสติกส์และ supply chain เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาบริการ อาทิ การวางแผนเส้นทางการเดินรถ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้านขนส่ง กระจายสินค้า การใช้ GPS การปรับราคาบริการเพื่อลดต้นทุนให้ธุรกิจได้มากที่สุด หรือจุดเด่นด้านการขนส่ง จึงเน้นความเร็วเป็นหลักอีกด้วย ในปัจจุบันหลาย ๆ บริษัทโลจิสติกส์เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัล หรือที่เรียกว่า “ Digital Logistics”
Digital Logistics
ดิจิทัลโลจิสติกส์คือ การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ด้วยข้อมูลดิจิทัล เพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลออนไลน์ที่เกิดขึ้นทุกวัน เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพรวมของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นทางการผลิต การจัดการสินค้าคงคลังและคำสั่งซื้อ ไปจนถึงปลายทางการจัดส่งสินค้า โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์จึงสะดวกสบาย และรวดเร็วมากขึ้น
ความสัมพันธ์ของโลจิสติกส์ และธุรกิจออนไลน์
จากที่กล่าวมาข้างต้นคงพอเห็นภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจโลจิสติกส์ และธุรกิจออนไลน์ หรือ E-Commerce ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แท้จริงแล้วในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ E-Commerce นั้นมีการติดต่อ ขนส่ง และเคลื่อนย้านอยู่ในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งวัตถุดิบ ขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิต การกระจายสินค้าสู่แหล่งซื้อขาย และการขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า นอกจากนี้ตลาด E-Commerce และ โลจิสติกส์มีการพัฒนา และเติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบ
เนื่องจากการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) คือแนวทางการจัดการกระบวนการทำงาน หรือการปฏิบัติการในขั้นตอนต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเผื่อผลิต การผลิตสินค้า และการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้าปลายทาง ซึ่งอาจแตกต่างออกไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของแต่ละธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อจัดการให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนน้อยที่สุด ซึ่งจุดนี้เองที่แต่ละธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์เพื่อนำไปวิเคราะห์ต้นทุน ลดต้นทุน และพัฒนาธุรกิจ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดอีกด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด
โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistics & Supply Chain)
โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพราะห่วงโซ่อุปทานหมายถึงการทำงานที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบในการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค ซึ่งกระบวนการใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ กระบวนการด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด
การจัดการโลจิสติกส์ และการจัดการ Supply Chain
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือการจัดการการไหลเวียนของสินค้า องค์กรควรมีการวางแผน ควบคุม การไหลเวียนของสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อบริหารจัดการต้นทุนให้ต่ำที่สุด การจัดการโลจิสติกส์เกิดขึ้นในกระบวนการขางการผลิตสินค้า การจัดเก้บสินค้า คลังสินค้า และการขนส่งให้ถึงมือลูกค้า ในขณะที่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) จะเป็นเรื่องของการจัดการปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิต และธุรกิจเสียมากกว่า ซึ่งการจัดการห่วงโซ่อุปทานครอบครุมถึงการจัดเก็บ การกระจายสินค้า การจัดจำหน่าย และการขนส่งให้ถึงมือลูกค้า
หัวใจของการจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพช่วยส่งเสริมการทำงานภายในองค์กรให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนน้อยลง โดยจะเกิดขึ้นในกิจกรรมใด ๆ ก็ตามในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนครอบคลุมตั้งแต่การผลิตสินค้า การจัดเก็บ การไหลเวียนของสินค้า ไปจนถึงการส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีนั้นต้องอาศัยข้อมูลในอดีต เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาการทำงานในปัจจุบัน โดยการจัดการให้การไหลเวียนของวัตถุดิบ และ กระบวนการไหลเวียนของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ
ถนัดอะไร ทำอย่างนั้น
การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีช่วยลดระยะเวลาการทำงาน ให้กระชับมากยิ่งขึ้น และหากไม่ชำนาญเรื่องใด ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กร หรือบริษัทที่เชี่ยวชาญทำแทนดีกว่า เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่รวดเร็ว แม่นยำกว่า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีจะช่วยให้ทุกฝ่ายเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ การทำงานจะสมบูรณ์แบบ และไม่เสียเวลา ยกตัวอย่างเช่น การลดระยะเวลาในการขนส่งวัสดุ หรือ วัตถุดิบการผลิตจากแหล่งผลิตที่เชี่ยวชาญ เผื่อให้สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น หรือการใช้บริการ Fulfillment เก็บแพ็คส่ง ให้จัดการงานหลังบ้าน และผู้ประกอบการนำเวลาไปต่อยอด หรือพัฒนาธุรกิจต่อไป โดยไม่ต้องห่วงปัญหาด้านโลจิสติกส์นั่นเอง
MyCloudFulfillment เก็บ แพ็ค ส่งสินค้า ช่วยลดต้นทุนธุรกิจ E-Commerce
ผู้ให้บริการ Fulfillment เก็บ แพ็ค ส่งสินค้าที่เป็นมากกว่าแค่ ผู้ให้บริการ Fulfillment เพราะเราต้องการเป็นผู้ช่วยที่สามารถช่วยเหลือให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน ด้วยบริการเก็บ แพ็ค ส่ง ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยความไว้วางใจจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทข้ามชาติมากมาย รับประกันคุณภาพของบริการด้ว รีวิวและรางวัลระดับประเทศ MyCloud แตกต่าง ด้วยการให้บริการที่สามารถ Customize ปรับแต่งบริการได้ตามความต้องการ ออกแบบให้เป็นบริการที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่สุดไม่ว่าจะเป็น การผูกโบว์ เขียนการ์ด ห่อของขวัญ หรือแม้แต่ฉีดน้ำหอมลงบนกล่อง แบบละเอียดออเดอร์ต่อออเดอร์เลยทีเดียว นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญอย่างสูงกับ DATA เพื่อการทำงานให้ลูกค้ามีกำไรจากการขายได้มากที่สุด เรามีเป้าหมายช่วยให้คุณขายดี และเก็บสต็อกอย่างฉลาด และเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป