อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

ความได้เปรียบในการแข่งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้อย่างรวดเร็วในอนาคต และเป็นอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ เช่น การที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลก มีอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอลที่พัฒนาแล้ว เป็นต้น

ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ

EECd สร้างความสามารถทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งในฐานะกลุ่ม R&D ของ 2 สถาบันวิจัยและ
15 มหาวิทยาลัยที่มีนักวิจัย 190 คน

ประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์

ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการเกษตรของโลก โดยมีรากฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน EEC ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศ รวมถึงมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

นโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจ
สีเขียว

ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซลที่ 14 ล้านลิตรต่อวันและไบโอเอทานอลที่ 11.3 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี พ.ศ. 2579 โดยปัจจุบันประเทศไทยมีความสามารถในการผลิต Polylactic Acid (PLA) สูงถึง 20,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรสำหรับการวิจัยและพัฒนา และศูนย์วิจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย BIOTEC TCELS และ PTIT

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพใน EECd

EECd มุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางด้านเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมีของเอเชีย

EECd วางแผนที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค เช่น ห้องปฏิบัติการ และศูนย์บ่มเพาะพันธุ์ ที่เชื่อมโยง R&D กับอุตสาหกรรมให้เข้าถึงและเป็นธุรกิจ SMEs

Ecosystem

เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมจากงานวิจัยสู่การผลิตและการขายอย่างเต็มรูปแบบ

ศูนย์ชีวเคมีดิจิทัล

สำหรับธุรกิจดิจิทัล EECd ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชีวเคมี และการนำเสนออุปกรณ์ดิจิทัล

 

เทคโนโลยีชีวภาพ

สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก สำหรับวิเคราะห์และวิจัยเคมี ซึ่งเพิ่มคุณภาพและผลผลิตของพืชให้เป็นไปตามความต้องการของอุตสาหกรรม

สร้างความสามารถ
ทางดิจิทัล

สร้างความสามารถทางดิจิทัลซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจชีวภาพ EECd รวบรวมนักวิชาการ ผู้ประกอบการ นักวิจัย นักเคมี เพื่อร่วมกันพัฒนาความสามารถและทักษะของแรงงานในด้านเคมีดิจิทัล เตรียมพร้อมสำหรับการรองรับอุตสาหกรรมเคมีสมัยใหม่

วิจัยและพัฒนา

ศูนย์รวมนักวิจัยและนักเคมี ที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการทางชีวภาพตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการไปจนถึงการใช้งานทางอุตสาหกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการและ
ให้คำปรึกษา

ผู้เชี่ยวชาญของเรามีความรู้อย่างครอบคลุมเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและการโต้ตอบ ติดต่อกับหน่วยงาน ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

ข่าวสารและข้อมูลดิจิทัลด้านเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมี