การแพทย์ยุคดิจิทัลสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยีทำงานแทนคน

Doctor checking brain testing result with robotics on virtual interface on laboratory background, innovative technology in science and medicine concept.

การแพทย์ยุคดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีทำงานแทนคน โดย พงศ์ศักดิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 

คุณจะรู้สึกตกใจมั้ย ถ้าวันนี้เราใช้หุ่นยนต์แพทย์เข้ามาทำการรักษาผู้ป่วย (Robotic for Medical) เปิดประตูเข้าห้องคุณหมอ กลับเจอหุ่นยนต์กล่าวทักทายคุณ พวกเรารับกันได้มั้ย คุณหมอ RoboDoc ผู้ที่ทำการตรวจรักษาได้ทั้งวัน ไม่มีเหน็ดเหนื่อย ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีทางการแพทย์ จะเปลี่ยนโฉมการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ปลอดภัยและมีชีวิตยืนยาวขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์  โดยเฉพาะการใช้ digital technology จะพลิกโฉมปฏิรูปวงการแพทย์ไปอย่างสิ้นเชิง

“In medicine and healthcare, digital technology could help transform unsustainable healthcare systems into sustainable ones, equalize the relationship between medical professionals and patients, provide cheaper, faster and more effective solutions for diseases – technologies could win the battle for us against cancer, AIDS or Ebola  and could simply lead to healthier individuals living in healthier communities.”   (TMF – The Medical Futurist)

เรียกได้ว่าดิจิทัลเทคโนโลยี สามารถช่วยเปลี่ยนระบบการรักษาพยาบาลที่ไม่ยั่งยืนให้เป็นระบบที่ยั่งยืน ปรับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยให้สมดุลกัน จัดหาโซลูชั่นที่ถูกกว่า เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการรักษาโรค  เทคโนโลยีสามารถเอาชนะการต่อสู้กับโรคมะเร็ง เอดส์ หรืออีโบลา เพื่อทำให้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

วันนี้เรามาดู การแพทย์ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีแรกที่เข้ามาช่วยรักษามนุษย์กัน ตัวแรกนี้คือ……

ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence

AI คือเทคโนโลยีสมองกลคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ พื้นฐานของ AI คือเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบให้มีระบบทำงานเหมือนกับการทำงานของสมองมนุษย์  AI ที่ใช้กันในวงกว้างทุกวันนี้ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายจะเลียนแบบการทำงานให้เหมือนกับสมองมนุษย์เสียทีเดียว แต่สิ่งที่มุ่งหวังคือ “output” ของ AI จะสามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้โดยตรง ขึ้นชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพในการออกแบบการดูแลสุขภาพได้ในรูปแบบใหม่ทั้งหมด  อัลกอริทึม AI สามารถขุดบันทึกทางการแพทย์ ออกแบบแผนการรักษา หรือสร้างยาได้เร็วกว่าเครื่องมือใด ๆ ในปัจจุบัน

บริษัทยา Startup บริษัทหนึ่งในอเมริกา ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ขุดรากถอนโคนการบำบัดจากฐานข้อมูลของโครงสร้างโมเลกุล  ในปี 2558 บริษัทสตาร์ตอัปบริษัทนี้ ได้เปิดตัวการค้นหาเสมือนจริงสำหรับยาที่มีอยู่แล้วให้ปลอดภัย ซึ่งสามารถออกแบบใหม่ได้เพื่อรักษาโรคไวรัสอีโบลา พวกเขาพบยาสองตัวที่คาดการณ์ไว้โดยใช้เทคโนโลยี AI ช่วยลดการติดเชื้ออีโบลาได้อย่างดี การใช้ประโยชน์จาก AI เป็นการปฏิวัติการค้นพบยาโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก คิดค้นการใช้การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการออกแบบยาตามโครงสร้าง เทคโนโลยีนี้สนับสนุนกลไกการค้นพบ AI ที่ดีที่สุด มีความสามารถในการค้นหาและเพิ่มประสิทธิภาพสารเคมีชนิดใหม่ได้

อีกไม่นาน DeepMind  จะสร้าง AI เพื่อวิเคราะห์มะเร็งเต้านม อัลกอริทึมนี้มีประสิทธิภาพในการเตรียมการและค้นหาชุดข้อมูลที่ละเอียด มากกว่านักรังสีวิทยา สามารถขุดชุดข้อมูลที่เลือกไว้ล่วงหน้าเพื่อระบุตำแหน่งมะเร็งเต้านมได้แม่นยำ อีกทั้ง DeepMind ใช้ Lens และ Visual Search เป็นผลรับที่น่าทึ่งที่สุดของ DeepMind นั่นก็คือ Lens  ที่เป็นเครื่องมือค้นหาภาพ ช่วยให้ snap ภาพของสิ่งที่อยู่ในโลกจริง และดึงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่สืบค้นนั้นออกมาได้ทันที

DeepMind มันคืออะไร พูดง่าย ๆ คือการใช้ AI เพื่อจดจำทุกอย่างไม่ว่า เสียง ภาพ อย่างแม่นยำ DeepMind ก่อตั้งขึ้นในปี 2554 โดยมีเป้าหมายคือ การแก้ปัญหาความฉลาดและใช้ข้อมูลนั้นเพื่อแก้ปัญหาทุกอย่าง

ผู้ก่อตั้งได้รับมือกับปัญหาในการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือที่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสาทวิทยา โดยมีเป้าหมายในการสร้างอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพสูง

นี่เป็นเพียงสองตัวอย่างของบริษัทที่ใช้  AI เพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพตั้งแต่การออกแบบยาใหม่ ไปจนถึงการปฏิวัติภาพลักษณ์ทางการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การจดบันทึกประวัติการรักษา ให้เป็นระเบียบแบบแผนที่สืบค้นง่าย ด้วยตัวอย่างที่จับต้องได้เหล่านี้ ลองนึกภาพว่ามนุษย์จะเปิดโลกทัศน์อะไรขึ้นอีก หากการนำ AI มาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดการค้นพบที่น่าอัศจรรย์ได้อีกมากมาย อย่างแน่นอน

ที่มา

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter