“อพท.” ผนึก “เนคเทค” ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เสริมศักยภาพท่องเที่ยวชุมชน
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิ
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมีผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่าการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การสร้างประโยชน์จากการใช้นวัตกรรม มาช่วยยกระดับการท่องเที่ยวในระดับชุมชน จนถึงระดับแหล่งท่องเที่ยว ไปสู่ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม นำไปสู่การต่อยอดและพัฒนา เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวซึ่งการทำงานร่วมกับ NECTEC ในครั้งนี้ช่วยส่งเสริมให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการบูรณาการข้อมูลทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในการสื่อความหมายนำเที่ยวได้ในระยะยาว
โดยโครงการนี้ชุมชนจะได้มีโอกาสนำข้อมูลทั้งด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมาบรรจุในแพลตฟอร์ม “นวนุรักษ์” ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปต่อยอดหรือขยายผลในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องการท่องเที่ยว และการตลาด โดย MOU ครั้งนี้ มีระยะเวลาความร่วมมือนาน 3 ปี ซึ่ง อพท. และ เนคเทค จะร่วมกันนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ไปเสริมศักยภาพให้กับชุมชนขยายวงกว้าง
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช. กล่าวว่า สืบเนื่องจากการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อยกระดับและฟื้นฟูการท่
โดยเน้นไปที่การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อตอบโจทย์บริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำร่องทดลองกับพื้นที่ในการดูแล และได้รับคำแนะนำจาก อพท. จำนวน 10 พื้นที่ 10 จังหวัดทั่วประเทศ
ได้แก่ 1.ชุมชนบ้านท่าระแนะ จังหวัดตราด 2.ชุมชนบ้านหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย 3.ชุมชนบ่อสวก จังหวัดน่าน 4.ชุมชนท่องเที่ยวเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 5.ชุมชนบ้านท่าดินแดง จังหวัดพังงา 6.ชุมชนไทญ้อบ้านโพน จังหวัดนครพนม 7.ชุมชนบ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 8.ชุมชนบ้านสุขสมบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา 9.ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทั้ง 9 ชุมชน เป็นชุมชนต้นแบบในความดูแลของ อพท. และ 10.ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง จังหวัดลพบุรี
ทั้งนี้ เนคเทค สวทช. ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อเข้ามาช่วยเป็นสื่อกลางซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการนำเทคโนโลยีจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในส่วนกลางอย่าง เนคเทค ไปขยายผลถ่ายทอดสู่ชุมชนซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จริง ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ 4.วิทยาลัยชุมชนน่าน 5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี และ 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
อย่างไรก็ตาม เนคเทค สวทช.มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมพร้อมใช้และปัญญาประดิษฐ์ ที่ศูนย์ฯ วิจัยและพัฒนาอย่างทุ่มเทตลอดมา ได้เข้าไปมีส่วนช่วยบูรณาการข้อมูลในการพัฒนาและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว และหวังว่าจะได้มีความร่วมมือกันพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต